Dynamic Load Test เป็นวิธีการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม(แตกต่างจาก Seismic Test ที่จะใช้หาความสมบูรณ์ของเสาเข็ม) ด้วยวิธีการใช้ตุ้มน้ำหนักกระแทกลงที่บริเวณหัวเข็ม และใช้เซ็นเซอร์วัดแรงที่เกิดขึ้นในเสาเข็มพร้อมทั้งระยะทรุดตัวของเสาเข็ม ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวัดจากเซ็นเซอร์ทั้งสองจะถูกนำมาคำนวณ ด้วย Wave Equation เพื่อคำนวณหาค่าแรงต้านทานของเสาเข็มทั้งที่ผิวและที่ปลายเข็ม (Pile Resistance) คลิ๊กเพื่อตรวจสอบราคาทดสอบ Dynamic Load Test
วิธีการวิเคราะห์ค่ารับน้ำหนักของเสาเข็ม
การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Dynamic Test ทำได้โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงที่กระทำในเสาเข็ม ซึ่งได้มาจากการแปลงสัญญาณความเครียดจาก Strain Transducer และ ความเร็วของอนุภาคเสาเข็มที่แปลงอยู่ในรูปของแรงด้วยการคูณด้วยค่าอิมพิแดนซ์ของเสาเข็ม โดยความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่แรงที่กระทำในเสาเข็มและความเร็วของอนุภาคจะแสดงไว้เทียบกับในแต่ละช่วงเวลา วิธีการเหล่านี้เป็นผลงานวิจัยของทีมงานจากมหาวิทยาลัย Case Western Reserve University ที่มลรัฐ Ohio สหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 2 วิธีคือ
(1) Case Method
เป็นวิธีที่ที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วในสนาม แบบจำลองที่ใช้จะกำหนดให้แรงต้านทั้งหมดเกิดขึ้นที่เข็ม การวัดค่าแรง และความเร็วของอนุภาคจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรง และความเร็ว ตัวอย่างการคำนวณแสดงในรูป มีสูตรการคำนวณดังนี้
เมื่อ RTL = Total static and dynamic resistance on a pile.
F = Force measured at gauge location.
V = Velocity measured at gauge location.
t1 = เวลาตกกระทบ
t2 = เวลาที่คลื่นสะท้อนกลับจากปลายเสาเข็ม (t1+ 2L/C)
E = Elastic modulus ของเสาเข็ม
C = ความเร็วของคลื่นที่เดินทางในเสาเข็ม
A = พื้นที่หน้าตัดเสาเข็มบริเวณติด gauge.
L = ความยาวเสาเข็มวัดจากจุดติด gauge.
ค่า Static pile capacity RSP สามารถคำนวณได้โดยค่า Damping หรือ Dynamic resistance ลบจากค่า RTL
RSP = RTL – J[V(t1) EA/C + F(t1) + RTL]
เมื่อ J = CASE damping factor บริเวณปลายเสาเข็ม
(2) CAPWAP Method (CASE Pile Wave Analysis Program)
วิธีนี้ใช้ Input ค่าที่วัดจากสนามลงใน Pile Wave Analysis Model ซึ่งแสดงในรูป เพื่อให้ได้ค่า Output ที่ออกมาใกล้เคียงกับค่าที่วัดจริงในสนามให้มากที่สุด Pile Wave Analysis Model จะทำการแบ่งเข็มและดินโดยรอบออกเป็น Element และแต่ละ Elements ก็จะมีค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น Shaft Resistance, End Bering Resistance, Damping Factor, Displacement เป็นต้น การปรับค่าพารามิเตอร์เหล่านี้ จะส่งผลต่อค่า Output ที่ได้จากการคำนวณ โดยขั้นตอนการคำนวณสามารถเลือกทำได้ 2 วิธีดังนี้
- ใช้ข้อมูลป้อนเข้าเป็นค่าแรงที่เกิดขึ้นในเสาเข็มเป็น Input ของโมเดล ทำการปรับค่าพารามิเตอร์ในแต่ล่ะ Elements เพื่อให้ได้ Output ออกมาเป็นค่าความเร็วของอนุภาค และนำค่าความเร็วของอนุภาคดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับค่าความเร็วของอนุภาคที่ทำการเก็บข้อมูลจาก Accelerometer และทำการ Iteration ปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ไปจนกว่าจะได้ค่า Output ที่ใกล้เคียงกับค่าที่วัดจริงในสนาม
- ใช้ Input เป็นค่าความเร็วของอนุภาคที่เก็บข้อมูลจาก Accelerometer และทำการปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อให้ได้ Output ที่เป็นค่าแรงที่เกิดขึ้นในเสาเข็ม และนำค่าที่ได้จากการคำนวณนั้นไปเทียบกับค่าแรงในเสาเข็มที่ได้จาก Strain Transducer และทำการ Iteration ปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ไปจนกว่าจะได้ค่า Output ที่ใกล้เคียงกับค่าที่วัดจริงในสนาม
ด้วยเหตุนี้ ความแม่นยำของการคำนวณโดยวิธีนี้ จะใช้ค่า Match Quality เป็นตัวแสดง ซึ่ง Match Quality นี้เป็น ค่าความคลาดเคลื่อนของค่า Output เทียบกับค่าจริงที่วัดได้ในสนาม ค่าที่แนะนำสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ผลคือ ต้องทำการ Iteration ให้ได้ค่า Match Quality น้อยกว่า 3%
วิธีการทดสอบ Dynamic Load Test
Dynamic Load Test นี้เป็นการทดสอบเพื่อประเมินการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยเป็นการทดสอบระหว่างตอกเสาเข็ม มีการวัดค่าแรง (Force) และความเร็ว (Velocity) จากสัญญาณสะท้อนคลื่นความเค้น (Stress Wave) ขณะที่ลูกตุ้มเหล็กกระแทกหัวเสาเข็ม แล้วประเมินกำลังรับน้ำหนัก โดยวิธี Case Pile Wave Analysis Method ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM D 4945-07 และมยผ.1252-51
การทดสอบเริ่มจาก การยึดติดตั้ง Strain Transducers และ Accelerometer Transducers กับผิวด้านข้างของเสาเข็มทดสอบ 2 ด้าน ที่ระยะห่างจากหัวเข็มไม่น้อยกว่า 1.00 เท่าของขนาดเสาเข็ม หลังจากนั้นจึงทำการปรับ Calibrate ตัววัดสัญญาณเครื่องมือทดสอบให้อยู่ในช่วงค่าที่เหมาะสมแล้ว ในขั้นตอนถัดไปจึงทำตอกทดสอบโดยตอกตุ้มเหล็ก ระยะยก 0.20-0.50 เมตร ลงบนเสาหัวเข็มที่รองรับแรงกระแทกด้วยหมวกครอบหัวเสาเข็ม หรือแผ่นยาง ในการตอกแต่ละครั้งก็ตรวจสอบสัญญาณที่เกิดขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่ (ไม่มี Bending เกิดขึ้นในขณะตอก) และวัดค่าการทรุดตัวในแต่ละครั้งที่ทำการทดสอบตอกเสาเข็ม นำสัญญาณที่ทดสอบในสนามที่ถูกต้อง และมีระยะการทรุดตัวเหมาะสมมาทำการวิเคราะห์โดยวิธี Case Method และ Case Pile Wave Analysis Method เพื่อสรุปหาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ถูกต้องในขณะนั้น ในห้องปฏิบัติการต่อไป