ในการสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัง งานที่เริ่มต้นก่อนงานอื่นๆ คือ งานฐานราก ซึ่งในพื้นที่ดินชั้นบนอ่อน เช่น ภาคกลาง หรือกทม. วิศวกรออกแบบมักจะกำหนดให้ใช้เสาเข็ม โดยจะกำหนดเสาเข็มที่ขนาดและความยาวต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้จากผลการเจาะสำรวจทางวิศวกรรม แต่ก็พบบ่อยครั้งที่มีการกำหนดขนาดและความยาวเสาเข็มโดยมิได้มีการอ้างถึงผลการเจาะสำรวจฯ

การตรวจสอบเสาเข็มตอก

เมื่อวิศวกรกำหนดขนาดเสาเข็มและความยาวเรียบร้อยแล้ว ทางผู้รับเหมาก็จะมาทำการตอกเสาเข็ม หรือกรณีที่การก่อสร้างอยู่ใกล้อาคารข้างเคียงก็จะใช้เสาเข็มเจาะแทน โดยในการตอกเสาเข็มนั้น จะมีการนับค่าการทรุดตัวสะสมของเสาเข็มการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last 10 Blow) ที่ทางวิศวกรใช้ในการคำนวณหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นนั้น ซึ่งหากเป็นงานที่มีการควบคุมงานดีค่า Last 10 Blow ก็สามารถใช้คำนวณความสามารถในการรับแรงเบื้องต้นได้ แต่ที่พบเจอบ่อยครั้ง คือ การนับ Last 10 Blow นั้นทางผู้ควบคุมการตอกมักจะมีการยกตุ้มที่ระยะความสูงจากหัวเสาเข็มที่ไม่เท่ากัน และหากแย่กว่านั้น คือ การไม่นับ Last 10 Blow เลย แล้วใช้การเดาสุ่มกรอกค่า Last 10 Blow ขึ้น ที่เป็น เช่นนี้ เพราะงานเสาเข็มเป็นงานกลางแจ้ง ที่ต้องตากแดด จึงมักทำให้วิศวกร หรือผู้ควบคุมมักจะหลีกเลี่ยงในการตรวจสอบระหว่างการตอกเสาเข็ม

การตรวจสอบเสาเข็มเจาะ

สำหรับเสาเข็มเจาะนั้น ไม่มีวิธีการใดๆ เลย ที่จะสามารถมาใช้ควบคุมคุณภาพได้ โดยทั่วไปมักใช้การนับปริมาณของคอนกรีตที่เทลงไปแทนที่ดินที่เจาะขึ้นมา ซึ่งก็มิได้บ่งบอกถึงความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะได้เลย

การควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักด้วยการทดสอบเสาเข็ม

ด้วยเหตุเหล่านี้ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น เจ้าของบ้าน อาคาร ผู้ออกแบบ หรือคอนเซ้าท์ บ่อยครั้งจึงให้มีการตรวจสอบคุณภาพ และความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยการทำ Dynamic Load Test เพื่อให้แน่ใจว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณ โดยงานทั่วไปจะกำหนดไว้ว่าเสาเข็มจะต้องมีกำลังรับน้ำหนักมากกว่า 2.5 เท่าของน้ำหนักที่จะใช้จริง (Safety Factor) จากรูปที่ 1 เป็นสถิติที่ทางผู้เขียนได้ทำการรวบรวมตลอดการทดสอบเสาเข็มในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมานั้นก็พบว่ามีเสาเข็มถึงประมาณ 12 % ที่ทำการทดสอบแล้วมีค่า Safety Factor ต่ำกว่า 2.5 เท่า และหากลงลึงไปในรายละเอียดจะพบว่าในจำนวนเสาเข็มที่มี Safety Factor ต่ำกว่า 2.5 เท่านี้ มีถึงประมาณ 73% ที่เป็นเข็มเจาะ 25% เป็นเข็มตอก และ 2%เป็นเข็มไมโครไพล์

Distribution curve of safety factor for pile obtain from dynamic load test
การกระจายตัวทางสถิติของค่า Safety factor ของเสาเข็มที่ทำการทดสอบเทียบระหว่างค่าที่ออกแบบกับค่าที่วัดจริงด้วย Dynamic Load Test

ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่าเสาเข็มเจาะนั้นไม่มีวิธีการตรวจสอบกำลังรับแรงของเสาเข็มในเบื้องต้นเลย และเหตุที่สำคัญอีกอย่างนึง คือ เสาเข็มเจาะที่นิยมทำกันในประเทศไทยนั้น มักจะเป็นเสาเข็มเจาะระบบแห้ง ที่มีข้อด้อย คือ เมื่อเจาะเสาเข็มไปจนเจอชั้นทราย ก็จะทำให้น้ำใต้ดินดันขึ้นมาบริเวณก้นหลุม เมื่อทำการเทคอนกรีตลงนั้นบริเวณก้นหลุมที่เป็นปลายเสาเข็มก็มีโอกาสที่จะเกิดโพรงหรือเลน ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่าที่ควรดังรูปที่ 2

อธิบายการวางตัวของเข็มตอกและเข็มเจาะและโอกาสการเกิดโพรงดินที่ปลายเข็มเจาะ
เปรียบเทียบระหว่างเข็มตอกและเข็มเจาะ และแสดงตัวอย่างการเกิดโพรงดินที่ปลายเข็มเจาะ

ในส่วนของเสาเข็มตอกนั้น ที่รับแรงไม่ได้ส่วนมากจะพบในกรณีที่มิได้มีการนับ Last 10 Blow โดยผู้ตอกมักจะทำการตอกไปจนกระทั้งหัวเสาเข็มจมอยู่ระดับเดียวกับผิวดิน หรือก็มีเสาเข็มจำนวนนึงที่ทำการตอกทดสอบแล้วพบว่าเสาเข็มหักทำให้ไม่สามารถรับแรงได้ แต่อย่างไรก็ตามหากหน้างานมีการควบคุมการนับ Last 10 Blow อย่างดีแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็มักจะพบในอัตราที่น้อยลง

กลับมาถึงคำถามที่ว่า บ้าน หรืออาคารที่เรากำลังสร้างนั้น จำเป็นต้องทดสอบเสาเข็มมั้ย ผู้เขียนขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

กรณีเสาเข็มเจาะ

ผู้เขียนแนะนำให้ทำการสุ่มทดสอบ Dynamic Load Test อย่างน้อย 1 ต้น รวมถึงทำการทดสอบ Seismic Test (ทดสอบว่าเสาเข็มไม่ขอดไม่ขาด) ทุกต้น เพราะเสาเข็มเจาะนั้น ไม่มีวิธีการควบคุมคุณภาพที่มีประสิทธิ์ภาพใดๆ เลย

กรณีเสาเข็มตอก

ในกรณีการก่อสร้างอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และมีการควบคุมการตอกเสาเข็มที่ดีมีการนับ Last 10 Blow ได้ครบถ้วนอาจไม่มีความจำเป็นในการทดสอบทั้ง Dynamic Load Test และ Seismic Test แต่หากประสบปัญหาเสาเข็มที่วิศวกรคำนวณมาเมื่อตอกจนหัวเข็มจมดินแล้ว Last 10 Blow ยังไม่ได้ค่าตามที่กำหนด ในกรณีนี้ การทดสอบ Dynamic Load Test ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะสามารถบอกกำลังรับน้ำหนักได้ ซึ่งโดยส่วนมากมักพบว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำการเสริมเข็มหรือต่อเข็มแต่อย่างใด

สำหรับครั้งหน้าผู้เขียนจะมาว่ากันต่อถึงว่าในแต่ล่ะไซต์ควรทดสอบเสาเข็มกี่ต้นดีนะ ที่จะไม่น้อยเกินไป และไม่สิ้นเปลื่องเกิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Explore More

บ้านทรุด ต้องป้องกันตั้งแต่ลงเสาเข็ม

February 21, 2020 0 Comments 0 tags

เคยกังวลกันมั้ยครับ ว่าบ้านคุณจะทรุด เพราะเสาเข็มที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างบ้านนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักไว้ได้ตามที่วิศวกรคำนวน แล้ววิศวกรรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเสาเข็มที่ความยาวเท่านี้จะสามารถรับน้ำหนักตัวบ้านไว้ได้โดยไม่เกิดการทรุดตัว ปัญหาการทรุดตัวของบ้านเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้าน ที่มักเห็นตามสื่อออนไลน์บ่อยๆ เช่น Pantip หรือ Facebook ซึ่งจริงๆ แล้วการทรุดตัวที่เกิดขึ้นกับบ้านส่วนมากนั้นก็เนื่องมากจากการที่ฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านได้นั้นเอง มาดูกันดีกว่าว่าฐานรากที่ใช้รับตัวบ้านท่านนั้นมีลักษณะอย่างไร สำหรับบ้านที่ก่อสร้างในพื้นที่ดินอ่อนอย่างภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ส่วนมากฐานรากที่ใช้มารับน้ำหนักตัวบ้านนั้นมักเลือกที่จะใช้เสาเข็ม ที่แบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) เสาเข็มตอก และ (2) เสาเข็มเจาะ

บ้านทรุดเอียง: ถ้าทิ้งไว้นานๆ บ้านจะทรุดน้อยลงมั้ยนะ

March 5, 2020 0 Comments 0 tags

บ้านทรุด บ้านเอียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับเจ้าของบ้านที่ซื้อบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ และหากเรียกวิศวกรเข้ามาตรวจสอบนั้นถ้ารอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวที่ของฐานรากนั้น ประเมินแล้วไม่มีอันตราย โดยมากทางวิศวกรมักที่จะยังไม่ดำเนินการซ่อมแซมอะไร แต่จะใช้การมอนิเตอร์ว่ารอยแตกร้าวนั้นมีแนวโน้มขยายขึ้นมากมั้ยเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะขัดกับความรู้สึกของเจ้าของบ้าน แต่จริงๆ แล้วแอดมินจะบอกว่าในกรณีทั่วไปนั้น ฐานรากทั้งฐานแผ่ หรือเสาเข็มมีแนวโน้มที่จะรับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อทิ้งฐานรากเหล่านี้ไว้ โดยไม่ไปรบกวนมัน ยกตัวอย่างเช่น เสาเข็มตอกทิ้งไว้และไม่ไปทะลึ่งตอกมันซ้ำ

Dynamic Load Testing: An Essential Tool for Preventing Structural Failure due to Natural Hazards

July 13, 2024 0 Comments 0 tags

Natural hazards, such as earthquakes and floods, can cause significant damage to buildings and infrastructure. One of the leading causes of structural failure during these events is foundation failure. Dynamic