บ้านทรุด บ้านเอียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับเจ้าของบ้านที่ซื้อบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ และหากเรียกวิศวกรเข้ามาตรวจสอบนั้นถ้ารอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวที่ของฐานรากนั้น ประเมินแล้วไม่มีอันตราย โดยมากทางวิศวกรมักที่จะยังไม่ดำเนินการซ่อมแซมอะไร แต่จะใช้การมอนิเตอร์ว่ารอยแตกร้าวนั้นมีแนวโน้มขยายขึ้นมากมั้ยเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะขัดกับความรู้สึกของเจ้าของบ้าน แต่จริงๆ แล้วแอดมินจะบอกว่าในกรณีทั่วไปนั้น ฐานรากทั้งฐานแผ่ หรือเสาเข็มมีแนวโน้มที่จะรับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อทิ้งฐานรากเหล่านี้ไว้ โดยไม่ไปรบกวนมัน ยกตัวอย่างเช่น เสาเข็มตอกทิ้งไว้และไม่ไปทะลึ่งตอกมันซ้ำ

เหตุที่เสาเข็มหรือบ้านมีการทรุดตัวน้อยลงเมื่อเวลานานขึ้นนั้น หากจะอธิบายเรื่องได้ให้ภาพที่สุดก็คงต้องใช้กราฟ Load vs Displacement ที่ปกติจะประกอบอยู่ในรายงานทดสอบเสาเข็มทั้งแบบ Static และ Dynamic

โดยรูปแรกนี้ จะเป็นผลจากการทดสอบ Dynamic Load Test ของเสาเข็มตอกสองต้นที่มีขนาดหน้าตัดและความยาวเสาเข็มเท่ากันและอยู่ห่างกันไม่ถึง 5 เมตร

โดยต้นที่ 1 ถูกตอกทิ้งไว้ประมาณ 7 ปี มาแล้ว (โครงสร้างอาคารก่อสร้างไม่เสร็จถูกทิ้งร้าง)

ส่วนต้นที่ 2 เพิ่งตอกใหม่ประมาณ 7 วัน ที่แล้ว

จากกราฟจะเห็นได้ว่าเสาเข็มต้น 1 ที่ถูกต้องทิ้งไว้นานมาแล้วสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มต้นที่ 2 ที่เพิ่งตอกเพียง 7 วัน ถึง 47 ตัน หรือคิดเป็น 71% เลยทีเดียวครับ

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมื่อเข็มที่โดยส่วนมากจะตอกผ่านชั้นดินที่อ่อนที่มักเป็นดินเหนียวนั้น เมื่อตอกเสาเข็มลงไปใน Pore Pressure ในดินเหนียวรอบผิวเข็มจะเพิ่มขึ้น ทำให้ Effective Stress บริเวณผิวเสาเข็มลดลง แต่หากถ้าเราทิ้งเข็มที่ตอกทิ้งไว้ Pore Pressure บริเวณรอบๆ เสาเข็มนี้ ก็จะลดลงส่งผลให้ Effective Stress เพิ่มขึ้น ทำให้ Skin Fiction บริเวณรอบๆ เสาเข็มเพิ่มตาม ด้วยเหตุนี้เสาเข็มยิ่งทิ้งไว้นานก็จะยิ่งมีกำลังรับน้ำหนักมากขึ้นนั้นเอง

ฉนั้น โดยทั่วไปจะแนะนำให้ทิ้งเข็มไว้ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ก่อนทำการทดสอบ ยกเว้นเจ้าของงานมั่นใจว่าแค่ Bearing Capacity อย่างเดียวก็ผ่านได้ Safety Factor มากกว่า 2.5 แล้วครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Explore More

บ้านทรุด ต้องป้องกันตั้งแต่ลงเสาเข็ม

February 21, 2020 0 Comments 0 tags

เคยกังวลกันมั้ยครับ ว่าบ้านคุณจะทรุด เพราะเสาเข็มที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างบ้านนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักไว้ได้ตามที่วิศวกรคำนวน แล้ววิศวกรรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเสาเข็มที่ความยาวเท่านี้จะสามารถรับน้ำหนักตัวบ้านไว้ได้โดยไม่เกิดการทรุดตัว ปัญหาการทรุดตัวของบ้านเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้าน ที่มักเห็นตามสื่อออนไลน์บ่อยๆ เช่น Pantip หรือ Facebook ซึ่งจริงๆ แล้วการทรุดตัวที่เกิดขึ้นกับบ้านส่วนมากนั้นก็เนื่องมากจากการที่ฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านได้นั้นเอง มาดูกันดีกว่าว่าฐานรากที่ใช้รับตัวบ้านท่านนั้นมีลักษณะอย่างไร สำหรับบ้านที่ก่อสร้างในพื้นที่ดินอ่อนอย่างภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ส่วนมากฐานรากที่ใช้มารับน้ำหนักตัวบ้านนั้นมักเลือกที่จะใช้เสาเข็ม ที่แบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) เสาเข็มตอก และ (2) เสาเข็มเจาะ

บ้าน หรืออาคารที่กำลังก่อสร้างของเราจำเป็นต้องทดสอบเสาเข็มมั้ย?

September 16, 2020 0 Comments 0 tags

ในการสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัง งานที่เริ่มต้นก่อนงานอื่นๆ คือ งานฐานราก ซึ่งในพื้นที่ดินชั้นบนอ่อน เช่น ภาคกลาง หรือกทม. วิศวกรออกแบบมักจะกำหนดให้ใช้เสาเข็ม โดยจะกำหนดเสาเข็มที่ขนาดและความยาวต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้จากผลการเจาะสำรวจทางวิศวกรรม แต่ก็พบบ่อยครั้งที่มีการกำหนดขนาดและความยาวเสาเข็มโดยมิได้มีการอ้างถึงผลการเจาะสำรวจฯ การตรวจสอบเสาเข็มตอก เมื่อวิศวกรกำหนดขนาดเสาเข็มและความยาวเรียบร้อยแล้ว ทางผู้รับเหมาก็จะมาทำการตอกเสาเข็ม หรือกรณีที่การก่อสร้างอยู่ใกล้อาคารข้างเคียงก็จะใช้เสาเข็มเจาะแทน โดยในการตอกเสาเข็มนั้น จะมีการนับค่าการทรุดตัวสะสมของเสาเข็มการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last 10 Blow) ที่ทางวิศวกรใช้ในการคำนวณหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นนั้น ซึ่งหากเป็นงานที่มีการควบคุมงานดีค่า Last 10 Blow ก็สามารถใช้คำนวณความสามารถในการรับแรงเบื้องต้นได้ แต่ที่พบเจอบ่อยครั้ง คือ การนับ

Dynamic Load Testing: An Essential Tool for Preventing Structural Failure due to Natural Hazards

July 13, 2024 0 Comments 0 tags

Natural hazards, such as earthquakes and floods, can cause significant damage to buildings and infrastructure. One of the leading causes of structural failure during these events is foundation failure. Dynamic