บ้านทรุด บ้านเอียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับเจ้าของบ้านที่ซื้อบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ และหากเรียกวิศวกรเข้ามาตรวจสอบนั้นถ้ารอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวที่ของฐานรากนั้น ประเมินแล้วไม่มีอันตราย โดยมากทางวิศวกรมักที่จะยังไม่ดำเนินการซ่อมแซมอะไร แต่จะใช้การมอนิเตอร์ว่ารอยแตกร้าวนั้นมีแนวโน้มขยายขึ้นมากมั้ยเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะขัดกับความรู้สึกของเจ้าของบ้าน แต่จริงๆ แล้วแอดมินจะบอกว่าในกรณีทั่วไปนั้น ฐานรากทั้งฐานแผ่ หรือเสาเข็มมีแนวโน้มที่จะรับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อทิ้งฐานรากเหล่านี้ไว้ โดยไม่ไปรบกวนมัน ยกตัวอย่างเช่น เสาเข็มตอกทิ้งไว้และไม่ไปทะลึ่งตอกมันซ้ำ

เหตุที่เสาเข็มหรือบ้านมีการทรุดตัวน้อยลงเมื่อเวลานานขึ้นนั้น หากจะอธิบายเรื่องได้ให้ภาพที่สุดก็คงต้องใช้กราฟ Load vs Displacement ที่ปกติจะประกอบอยู่ในรายงานทดสอบเสาเข็มทั้งแบบ Static และ Dynamic

โดยรูปแรกนี้ จะเป็นผลจากการทดสอบ Dynamic Load Test ของเสาเข็มตอกสองต้นที่มีขนาดหน้าตัดและความยาวเสาเข็มเท่ากันและอยู่ห่างกันไม่ถึง 5 เมตร

โดยต้นที่ 1 ถูกตอกทิ้งไว้ประมาณ 7 ปี มาแล้ว (โครงสร้างอาคารก่อสร้างไม่เสร็จถูกทิ้งร้าง)

ส่วนต้นที่ 2 เพิ่งตอกใหม่ประมาณ 7 วัน ที่แล้ว

จากกราฟจะเห็นได้ว่าเสาเข็มต้น 1 ที่ถูกต้องทิ้งไว้นานมาแล้วสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มต้นที่ 2 ที่เพิ่งตอกเพียง 7 วัน ถึง 47 ตัน หรือคิดเป็น 71% เลยทีเดียวครับ

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมื่อเข็มที่โดยส่วนมากจะตอกผ่านชั้นดินที่อ่อนที่มักเป็นดินเหนียวนั้น เมื่อตอกเสาเข็มลงไปใน Pore Pressure ในดินเหนียวรอบผิวเข็มจะเพิ่มขึ้น ทำให้ Effective Stress บริเวณผิวเสาเข็มลดลง แต่หากถ้าเราทิ้งเข็มที่ตอกทิ้งไว้ Pore Pressure บริเวณรอบๆ เสาเข็มนี้ ก็จะลดลงส่งผลให้ Effective Stress เพิ่มขึ้น ทำให้ Skin Fiction บริเวณรอบๆ เสาเข็มเพิ่มตาม ด้วยเหตุนี้เสาเข็มยิ่งทิ้งไว้นานก็จะยิ่งมีกำลังรับน้ำหนักมากขึ้นนั้นเอง

ฉนั้น โดยทั่วไปจะแนะนำให้ทิ้งเข็มไว้ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ก่อนทำการทดสอบ ยกเว้นเจ้าของงานมั่นใจว่าแค่ Bearing Capacity อย่างเดียวก็ผ่านได้ Safety Factor มากกว่า 2.5 แล้วครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Explore More

บ้าน หรืออาคารที่กำลังก่อสร้างของเราจำเป็นต้องทดสอบเสาเข็มมั้ย?

September 16, 2020 0 Comments 0 tags

ในการสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัง งานที่เริ่มต้นก่อนงานอื่นๆ คือ งานฐานราก ซึ่งในพื้นที่ดินชั้นบนอ่อน เช่น ภาคกลาง หรือกทม. วิศวกรออกแบบมักจะกำหนดให้ใช้เสาเข็ม โดยจะกำหนดเสาเข็มที่ขนาดและความยาวต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้จากผลการเจาะสำรวจทางวิศวกรรม แต่ก็พบบ่อยครั้งที่มีการกำหนดขนาดและความยาวเสาเข็มโดยมิได้มีการอ้างถึงผลการเจาะสำรวจฯ การตรวจสอบเสาเข็มตอก เมื่อวิศวกรกำหนดขนาดเสาเข็มและความยาวเรียบร้อยแล้ว ทางผู้รับเหมาก็จะมาทำการตอกเสาเข็ม หรือกรณีที่การก่อสร้างอยู่ใกล้อาคารข้างเคียงก็จะใช้เสาเข็มเจาะแทน โดยในการตอกเสาเข็มนั้น จะมีการนับค่าการทรุดตัวสะสมของเสาเข็มการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last 10 Blow) ที่ทางวิศวกรใช้ในการคำนวณหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นนั้น ซึ่งหากเป็นงานที่มีการควบคุมงานดีค่า Last 10 Blow ก็สามารถใช้คำนวณความสามารถในการรับแรงเบื้องต้นได้ แต่ที่พบเจอบ่อยครั้ง คือ การนับ

บ้านทรุด ต้องป้องกันตั้งแต่ลงเสาเข็ม

February 21, 2020 0 Comments 0 tags

เคยกังวลกันมั้ยครับ ว่าบ้านคุณจะทรุด เพราะเสาเข็มที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างบ้านนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักไว้ได้ตามที่วิศวกรคำนวน แล้ววิศวกรรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเสาเข็มที่ความยาวเท่านี้จะสามารถรับน้ำหนักตัวบ้านไว้ได้โดยไม่เกิดการทรุดตัว ปัญหาการทรุดตัวของบ้านเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้าน ที่มักเห็นตามสื่อออนไลน์บ่อยๆ เช่น Pantip หรือ Facebook ซึ่งจริงๆ แล้วการทรุดตัวที่เกิดขึ้นกับบ้านส่วนมากนั้นก็เนื่องมากจากการที่ฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านได้นั้นเอง มาดูกันดีกว่าว่าฐานรากที่ใช้รับตัวบ้านท่านนั้นมีลักษณะอย่างไร สำหรับบ้านที่ก่อสร้างในพื้นที่ดินอ่อนอย่างภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ส่วนมากฐานรากที่ใช้มารับน้ำหนักตัวบ้านนั้นมักเลือกที่จะใช้เสาเข็ม ที่แบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) เสาเข็มตอก และ (2) เสาเข็มเจาะ

Dynamic Load Testing: Ensuring Safe&Sound Structures

March 16, 2023 0 Comments 0 tags

Dynamic load testing is a critical process that tests the strength of buildings and infrastructure. The test involves dropping a heavy weight onto the structure to see how much weight