เคยกังวลกันมั้ยครับ ว่าบ้านคุณจะทรุด เพราะเสาเข็มที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างบ้านนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักไว้ได้ตามที่วิศวกรคำนวน แล้ววิศวกรรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเสาเข็มที่ความยาวเท่านี้จะสามารถรับน้ำหนักตัวบ้านไว้ได้โดยไม่เกิดการทรุดตัว

ปัญหาการทรุดตัวของบ้านเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้าน ที่มักเห็นตามสื่อออนไลน์บ่อยๆ เช่น Pantip หรือ Facebook ซึ่งจริงๆ แล้วการทรุดตัวที่เกิดขึ้นกับบ้านส่วนมากนั้นก็เนื่องมากจากการที่ฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านได้นั้นเอง

บ้านสร้างเสร็จแต่เสาเข็มคอดยังไม่ทรุด

บ้านทรดหลังจากสร้างเนื่องจากเสาเข็มหัก

มาดูกันดีกว่าว่าฐานรากที่ใช้รับตัวบ้านท่านนั้นมีลักษณะอย่างไร สำหรับบ้านที่ก่อสร้างในพื้นที่ดินอ่อนอย่างภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ส่วนมากฐานรากที่ใช้มารับน้ำหนักตัวบ้านนั้นมักเลือกที่จะใช้เสาเข็ม ที่แบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) เสาเข็มตอก และ (2) เสาเข็มเจาะ

(1) เสาเข็มตอก

เสาเข็มตอกนั้น คือ เสาเข็มเข็มที่ได้ทำการหล่อไว้แล้วจากโรงหล่อเสาเข็ม โดยผู้รับเหมาจะสั่งเสาเข็มที่ความยาวและขนาดที่ต้องการ และส่วนมากโรงหล่อเสาเข็มมักจะผลิตตามออเดอร์ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการกำหนดขนาดและความยาวเสาเข็มที่จะใช้รับตัวบ้านท่านจากทางวิศวกรผู้ออกแบบไว้ล่วงหน้า

โดยทั่วไป การติดตั้งเสาเข็มเจาะนั้นจะใช้วิธีการควบคุมคุณภาพด้วยการนับ Blow Count ซึ่งเป็นศัพท์ที่ทางวิศวกรใช้กัน แต่หากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็ คือ การนับว่าหากยกตุ้มน้ำหนักที่กำหนดน้ำหนักไว้ ที่ระยะห่างจากหัวเสาเข็มเท่ากัน ยกและตอกลงไปทั้งสิ้น 10 ครั้ง จะมีระยะทรุดของเสาเข็มเป็นเท่าไหร ซึ่งค่าระยะทรุดนี้ วิศวกรจะเรียกว่า Last 10 Blow ซึ่งวิศวกรสามารถนำค่า Last 10 Blow นี้ไปคำนวณเบื้องต้นหาน้ำหนักที่เสาเข็มสามารถรับได้ ที่แม้จะไม่แม่นยำมากนั้น แต่ก็ยังถือว่ามีการควบคุมคุณภาพของเสาเข็มอยู่ ซึ่งก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการที่บ้านจะทรุดตัวได้ในระดับนึงแล้ว แต่สิ่งที่มักเจอจริงนั้นคือหน้างานไม่ได้มีการควบคุมและตรวจวัด Last 10 Blow จริงๆ บ้างครั้งในบ้านบางหลังที่แอดมินเคยผ่านไป ก็พบว่าทำการตอกไปอย่างเดียวเลย ไม่มีการนับ Last 10 Blow แต่พอแอดมินขอผล Last 10 Blow ผู้รับเหมาตอกเสาเข็มก็มักจะมีผลเป็นตารางมาให้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นข้อมูลที่เมคขึ้นมาแน่ๆ ครับ

ถึงแม้ว่าจะมีการนับ Last 10 Blow อย่างดีไม่เมคแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถพบเสาเข็มตอกที่บางครั้ง คอนกรีตที่ใช้หล่อเสาเข็มคุณภาพไม่ดี หรือบ่มทิ้งไว้ไม่นานพอ หรือแม้กระทั้งปัญหาจากการเค้นตอกเสาเข็มลงไป ทำให้เสาเข็มตอกอาจมีการแตกหรือหักได้ และที่อันตรายคือมีการแตกหรือหักบริเวณที่อยู่ใต้ดินลงไป ดังเช่นในภาพที่ขุดขึ้นมาพบ แต่โอกาสในการแตกแบบนี้ก็ถือว่าค่อนข้างน้อยมาก

เสาเข็มตอกแตกร้าว

เสาเข็มตอกมีคุณภาพที่ดี และลดโอกาสที่บ้านจะทรุดได้ก็จริง แต่เนื่องจากเสาเข็มตอกจำเป็นต้องจัดส่งมาจากโรงหล่อเสาเข็ม ด้วยขนาดเสาเข็มที่ยาวทำให้ไม่สามารถขนส่งไปใช้งานได้ในตรอก ซอก ซอย หรือพื้นที่สำหรับสร้างบ้านที่มีขนาดเล็ก และนอกจากนี้หากบริเวณที่จะทำการก่อสร้างบ้านนั้นติดกับบ้านข้างเคียงมาก วิศวกรหรือสำนักโยธาของเขตก็จะไม่อนุญาติให้ใช้เสาเข็มตอก เพราะเกรงว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มด้วยลูกตุ้มขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงได้

ตัวอย่างการตอกเสาเข็มตอก

(2) เสาเข็มเจาะ

หากเป็นกรณีที่บ้านก่อสร้างใกล้เคียงกับเพือนบ้านมากๆ ทางผู้รับเหมาหรือวิศวกรมักเลือกที่จะใช้เป็นเสาเข็มเจาะ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างการตอกเสาเข็มตอก ซึ่งเสาเข็มเจาะนี่แหละที่มักเจอปัญหาเรื่องเสาเข็มขอดหรือบางครั้งเสาเข็มก็ขาด คือ ไม่ได้ความลึกของเสาเข็มตามที่ต้องการนั้นเอง

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเสาเข็มเจาะจะใช้ปลอกเหล็กขนาดใกล้เคียงกับขนาดเสาเข็มตอกลงไปในดินและนำดินที่ปลอกนี้ขึ้นมาทิ้งไว้บริเวณผิวการ และด้วยการที่ปลอกนี้มีความยาวประมาณ 1 ถึง 1.5 เมตร การที่จะเจาะได้ความลึก 18 – 25 เมตรที่เป็นชั้นทรายของกรุงเทพมหานคร จึงต้องใช้การตอกลงไปและนำขึ้นมาหลายครั้ง ผนังบ่อที่เจาะไปนี้หลายๆครั้งไม่มีการป้องกันการพังทลาย ทำให้เมื่อเทคอนกรีตเพื่อใช้เป็นเนื้อเสาเข็มลงไปก็มักจะมีส่วนของดินที่พังทลายนั้นเข้ามาผสมด้วย ในกรณีที่แย่ที่สุดนั้นอาจจะมาผสมจนไม่เกิดการต่อเนื่องของคอนกรีตเสาเข็มเลย หรือเรียกว่าเสาเข็มขาดนั้นเอง

การบวนการตรวจสอบคุณภาพของเสาเข็มเจาะที่หน้างานนั้นแทบจะไม่มีเลย และด้วยการที่ไม่มีกระบวนการในการตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น ต่างจากเสาเข็มตอก ทำให้เสาเข็มเจาะมีโอกาสที่จะไม่ได้คุณภาพ โดยมีอาการต่างดังนี้  เสาเข็มขอด (เสาเข็มมีหน้าตัดขอดเข้าบางส่วน), เสาเข็มบวม(เสาเข็มมีหน้าตัดขยายบางส่วน) ,เสาเข็มมีส่วนผสมของดินเยอะ (คอนกรีตปนเปื้อนไปด้วยดินทำให้กำลังรับน้ำหนักไม่ได้), และปลายเสาเข็มกลวง (ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นโพร่งอันเนื่องมาจากคอนกรีตบริเวณดังกลางมีน้ำใต้ดินเข้ามาผสมเยอะ) เป็นต้น

ตัวอย่างเสาเข็มเจาะคอดไม่สมบูรณ์

จากประสบการณ์ของแอดมินที่ได้ทำการทดสอบเสาเข็มเจาะมาหลายหมื่นต้น พบว่าประมาณ 2-3 % ของเสาเข็มเจาะมีปัญหาเรื่องคุณภาพในขั้นรายแรงจนไม่สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้ และอีกไม่น้อยกว่า 20% เสาเข็มเจาะมีหน้าตัดที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการรับน้ำหนักในระยะยาว ดังนั้น บ้านที่ใช้เสาเข็มเจาะจึงมีโอกาสที่จะพบการทรุดตัวมากกว่าบ้านที่ใช้เข็มตอกนั้นเอง

อย่างไรก็ตามปัญหาเสาเข็มเจาะคุณภาพไม่ได้นั้นสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการทางวิศวกรรม คือ การตรวจสอบเสาเข็มวิธีต่างๆ เพื่อที่จะเช็คว่าเสาเข็มมีความสามารถในการรับน้ำหนักบ้านได้ตามที่ทางวิศวกรได้ออกแบบไว้หรือไม่ และนอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน วิศวกรยังสามารถใช้คลื่นเสียงในการตรวจสอบว่าเสาเข็มเจาะที่ติดตั้งไปแล้วนั้นมีความยาวตามที่วิศวกรกำหนด

เพื่อป้องกันปัญหาการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น สำหรับบ้านที่ใช้เข็มเจาะ แอดมินจึงมักจะแนะนำให้ผู้ที่มาขอคำปรึกษาทำการเจาะเข็มทดสอบอย่างน้อย 1 ต้น ก่อนและทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน เพื่อรอทำการทดสอบ Dynamic Load Test  ตามที่กรมโยธาธิการได้แนะนำไว้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในการทดสอบว่าเสาเข็มที่เจาะไปนั้นสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไร

ด้วยวิธีการนี้นอกจากสร้างความมั่นใจว่าเข็มเจาะที่เราเลือกใช้จะสามารถรับน้ำหนักได้แล้ว ในหลายๆ ครั้ง ยังสามารถช่วยลดจำนวนเสาเข็มได้ เนื่องจากเสาเข็มที่เจาะไปนั้นสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าที่วิศวกรเคยคำนวนไว้ จากประสบการณ์ของแอดมินเคยเจอเคสที่ประหยัดได้สูงสุดถึง 208,000 บาท จากค่าเสาเข็มเดิมที่ 468,000 บาท โดยยังมีค่าความปลอดภัยหรือ Safety Factor 2.5 เท่าตามที่วิศวกรได้กำหนดไว้

และเมื่อทำการตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มที่จะรองรับตัวบ้านแล้ว จึงทำการเจาะเข็มที่เหลือทั้งหมด และก่อนที่จะทำการขึ้นฐานรากต่อไป แอดมินก็แนะนำต่อไปว่าควรที่จะทำการทดสอบ Seismic Test เพื่อดูว่าเสาเข็มไม่มีการขอดและมีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงชั้นความลึกที่ต้องการเพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพก่อน หากพบเสาเข็มที่ขาดหรือมีข้อบกพร่องก็สามารถทำการเจาะเสาเข็มเพิ่มได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายมากมาย

ซึ่งหากคิดถึงค่าใช้จ่ายในการทดสอบทั้งหมดที่แอดมินกล่าวมานั้นก็เพียงประมาณ 30,000 ถึง 35,000 บาท แต่เมื่อเทียบกับความมั่นใจว่าบ้านที่เก็บเงินสร้างมาทั้งชีวิตสำหรับหลายคนๆ จะไม่ทรุด และโอกาสที่จะสามารถลดต้นทุนค่าเสาเข็มได้มากที่สุดถึง 208,000 บาท นั้นแอดมินก็ต้องบอกว่าคุ้มค่ามากเลยทีเดียวนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Explore More

Dynamic Load Testing: Ensuring Safe&Sound Structures

March 16, 2023 0 Comments 0 tags

Dynamic load testing is a critical process that tests the strength of buildings and infrastructure. The test involves dropping a heavy weight onto the structure to see how much weight

บ้าน หรืออาคารที่กำลังก่อสร้างของเราจำเป็นต้องทดสอบเสาเข็มมั้ย?

September 16, 2020 0 Comments 0 tags

ในการสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัง งานที่เริ่มต้นก่อนงานอื่นๆ คือ งานฐานราก ซึ่งในพื้นที่ดินชั้นบนอ่อน เช่น ภาคกลาง หรือกทม. วิศวกรออกแบบมักจะกำหนดให้ใช้เสาเข็ม โดยจะกำหนดเสาเข็มที่ขนาดและความยาวต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้จากผลการเจาะสำรวจทางวิศวกรรม แต่ก็พบบ่อยครั้งที่มีการกำหนดขนาดและความยาวเสาเข็มโดยมิได้มีการอ้างถึงผลการเจาะสำรวจฯ การตรวจสอบเสาเข็มตอก เมื่อวิศวกรกำหนดขนาดเสาเข็มและความยาวเรียบร้อยแล้ว ทางผู้รับเหมาก็จะมาทำการตอกเสาเข็ม หรือกรณีที่การก่อสร้างอยู่ใกล้อาคารข้างเคียงก็จะใช้เสาเข็มเจาะแทน โดยในการตอกเสาเข็มนั้น จะมีการนับค่าการทรุดตัวสะสมของเสาเข็มการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last 10 Blow) ที่ทางวิศวกรใช้ในการคำนวณหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นนั้น ซึ่งหากเป็นงานที่มีการควบคุมงานดีค่า Last 10 Blow ก็สามารถใช้คำนวณความสามารถในการรับแรงเบื้องต้นได้ แต่ที่พบเจอบ่อยครั้ง คือ การนับ

บ้านทรุดเอียง: ถ้าทิ้งไว้นานๆ บ้านจะทรุดน้อยลงมั้ยนะ

March 5, 2020 0 Comments 0 tags

บ้านทรุด บ้านเอียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับเจ้าของบ้านที่ซื้อบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ และหากเรียกวิศวกรเข้ามาตรวจสอบนั้นถ้ารอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวที่ของฐานรากนั้น ประเมินแล้วไม่มีอันตราย โดยมากทางวิศวกรมักที่จะยังไม่ดำเนินการซ่อมแซมอะไร แต่จะใช้การมอนิเตอร์ว่ารอยแตกร้าวนั้นมีแนวโน้มขยายขึ้นมากมั้ยเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะขัดกับความรู้สึกของเจ้าของบ้าน แต่จริงๆ แล้วแอดมินจะบอกว่าในกรณีทั่วไปนั้น ฐานรากทั้งฐานแผ่ หรือเสาเข็มมีแนวโน้มที่จะรับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อทิ้งฐานรากเหล่านี้ไว้ โดยไม่ไปรบกวนมัน ยกตัวอย่างเช่น เสาเข็มตอกทิ้งไว้และไม่ไปทะลึ่งตอกมันซ้ำ